วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562

ข่าวที่ 1



ค้นพบฉลามสายพันธุ์ใหม่ ตัวจิ๋วเรืองแสงได้! นักวิทยาศาสตร์เชื่อมีไว้ล่อเหยื่อในที่มืด



ค้นพบฉลามสายพันธุ์ใหม่ ตัวจิ๋วเรืองแสงได้! นักวิทยาศาสตร์เชื่อมีไว้ล่อเหยื่อในที่มืด


ข่าววันที่ : 22 ก.ค. 62

             ทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยทิวเลน ในรัฐลุยเซียนา ทางใต้ของสหรัฐ ค้นพบฉลามพันธุ์ใหม่ชื่อฉลามกระเป๋าอเมริกัน มีขนาดตัว 14 เซนติเมตร ในอ่าวเม็กซิโก ซึ่งนอกจากขนาดที่เล็กจิ๋วแล้ว ยังพบว่า ฉลามสปีชีส์นี้เรืองแสงได้ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2553 นักวิทยาศาสตร์พบฉลามสปีชีส์นี้โดยบังเอิญ ขณะศึกษาวาฬสเปิร์มในอ่าวเม็กซิโก และไม่มีใครสังเกตเห็นอีกเลย แต่เมื่อปีองค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐ (โนอา)  ส่วนแสงของฉลามพันธุ์นี้เปล่งออกมาจากต่อมผลิตแสงขนาดจิ๋วใกล้ครีบหน้า เพื่อช่วยให้ดึงดูดเหยื่อเข้ามาใกล้ ก่อนจู่โจมสายฟ้าแลบ


ข่าวที่ 2



ทีเรกซ์ไม่ใช่สัตว์หัวร้อน เพราะมี “เครื่องปรับอากาศ” ในกะโหลกศีรษะ


T. rex


ข่าววันที่:6 กันยายน 2019


            แม้จะมีรูปร่างใหญ่โตและหน้าตาดุร้ายน่ากลัว แต่ไดโนเสาร์สายพันธุ์ไทแรนโนซอรัส เรกซ์ หรือ "ทีเรกซ์" ที่เรารู้จักกันดี คงจะไม่ใช่สัตว์ที่มีอารมณ์พลุ่งพล่านหรือหัวร้อนโกรธเกรี้ยวอยู่ตลอดเวลาเป็นแน่ เพราะล่าสุดมีการค้นพบว่า ช่องโหว่ขนาดใหญ่ 2 รูในกะโหลกศีรษะส่วนบนของมัน สามารถทำหน้าที่เป็น "เครื่องปรับอากาศ" ช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกายได้เป็นอย่างดี








ข่าวที่ 3

อินเดียพบร่องรอยยานลงจอด "จันทรายาน-2" หลังสัญญาณหาย







อินเดียพบร่องรอยยานลงจอด "จันทรายาน-2" หลังสัญญาณหาย


 ข่าววันที่: 9 กันยายน 2562


           เจ้าหน้าที่อินเดีย ค้นพบยานลงจอด "วิกรม" ที่เดินทางไปกับยานอวกาศจันทรายาน 2 หลังโคจรรอบดวงจันทร์ก่อนที่สัญญาณจะหายไป การส่งจันทรายาน-2 ไปสู่ดวงจันทร์ คือ ความหวังของอินเดียที่จะเป็นประเทศที่ 4 ของโลก โดยภารกิจจันทรายาน 2 ได้ออกเดินทางสู่ดวงจันทร์ตั้งแต่วันที่ 22 ก.ค.จากฐานปล่อยในเมืองศรีหริโคตา ประเทศอินเดีย ก่อนจะเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ในขั้นสุดท้ายได้สำเร็จในวันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา



ที่มา:
https://news.thaipbs.or.th/content/283958


วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

ข่าวที่ 4

วัตกรรม “ฟาสต์แทร็ก” ย่นเวลาพัฒนาวัคซีน สู้ “มาลาเรีย”


นวัตกรรม “ฟาสต์แทร็ก” ย่นเวลาพัฒนาวัคซีน สู้ “มาลาเรีย”

ข่าววันที่29 สิงหาคม 2562 



                 ดร.เจตสุมน อธิบายว่า ฟาสต์แทร็กเป็นกระบวนการทดสอบการติดเชื้อในคน เริ่มตั้งแต่กระบวนการเพาะยุงที่มีเชื้อไวแวกซ์ ในห้องแล็ป ของคณะเวชศาสตรเขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนนำเชื้อมามาจำลองการติดเชื้อในอาสาสมัคร และเก็บตัวอย่างเชื้อ ทดสอบประสิทธิภาพวัคซีน ติดตามผลและการักษาอาสาสมัคร



ข่าวที่ 5



ส่ง "ผลึกโปรตีน" จากอวกาศกลับโลก พัฒนายาต้านมาลาเรีย



ส่ง "ผลึกโปรตีน" จากอวกาศกลับโลก พัฒนายาต้านมาลาเรีย

ข่าววันที่ : 9 กันยายน 2562 


             หลังจากที่ส่งโปรตีนขึ้นไปทดลองตกผลึกบนสถานีอวกาศนานาชาติ ISS เมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุด ผลึกโปรตีนอวกาศถูกส่งกลับสู่โลกแล้ว เพื่อนำมาพัฒนาสร้างยาต้านมาลาเรียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อต้องการผลึกโปรตีนที่มีรูปแบบและโครงสร้างที่ชัดเจนกว่าการตกผลึกบนโลก เพื่อนำผลึกโปรตีนอวกาศดังกล่าวที่ได้มาพัฒนาสร้างยาต้านมาลาเรียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น







ข่าวที่ 6


เตือนใช้น้ำยาบ้วนปากหลังออกกำลังกายกระทบความดันโลหิต





ข่าววันที่ : 5 กันยายน 2019

       คนที่ต้องการรักษาความสะอาดในช่องปากเป็นพิเศษ มักใช้น้ำยาบ้วนปากหลังการแปรงฟันหรือหลังมื้ออาหาร โดยเชื่อว่าจะช่วยขจัดแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของกลิ่นปาก แต่อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยล่าสุดที่พบว่า การใช้น้ำยาบ้วนปากในบางเวลาจะไปทำลายจุลินทรีย์สำคัญที่มีบทบาทช่วยลดความดันโลหิตไม่ให้พุ่งสูงได้
       ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยพลีมัธของสหราชอาณาจักร ร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบาร์เซโลนาของสเปน เผยแพร่ผลการศึกษาล่าสุดในวารสาร "การแพทย์และชีววิทยาอนุมูลอิสระ" โดยระบุว่าแบคทีเรียในช่องปากบางชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายคนเรา มีบทบาทสำคัญต่อการนำส่งออกซิเจนสู่กล้ามเนื้อลาย รวมทั้งควบคุมกลไกที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัวจนความดันโลหิตลดต่ำลงหลังออกกำลังกายอีกด้วย

ข่าวที่ 7




องค์การอนามัยโลกระบุ 'ไมโครพลาสติก' ในน้ำดื่ม มีความเสี่ยงต่ำต่อสุขภาพ



ข่าววันที่: 23 สิงหาคม  2019

          องค์การอนามัยโลกหรือ WHO (World Health Organization) จัดทำรายงานชิ้นแรกที่เกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากมวลพลาสติกขนาดเล็ก หรือไมโครพลาสติก ซึ่งถูกพบได้ตามเเม่น้ำ ทะเลสาบ แหล่งน้ำทิ้ง หรือแม้กระทั่งในน้ำดื่มของมนุษย์  บรูซ กอร์ดอน ผู้ประสานงานแห่งฝ่าย Water, Sanitation and Health ขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า เมื่อร่างกายรับไมโครพลาสติกเข้าสู่ระบบย่อยอาหาร ส่วนใหญ่ของมวลพลาสติกเหล่านั้นจะไม่ถูกดูดซึมสู่ร่างกายมนุษย์  เขากล่าวว่า มวลพลาสติกขนาดจิ๋วในน้ำจากขวดน้ำดื่ม จะถูกพบมากกว่าในน้ำปะปาเล็กน้อย และบางส่วนที่พบในน้ำขวดมาจากฝาปิด และจากกระบวนการผลิตขวด  WHO เเนะนำตามข้อมูลปัจจุบันว่า ควรมีการกำจัดหรือลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียขนาดเล็กและสารเคมีที่สร้างความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ เช่นเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของ โรคท้องร่วง  ผลการวิจัยพบว่า หากมนุษย์ดื่มน้ำที่มีมวลพลาสติกขนาดเล็กเข้าไป อันตรายที่มีต่อสุขภาพจะอยู่ในระดับต่ำ


ที่มา:https://www.voathai.com/a/who-microplastic-ro/5053828.html

ข่าวที่ 8




นักวิทยาศาสตร์หรัฐฯ ปริ้นท์ "ลิ้นหัวใจ" ด้วยคอลลาเจน





นักวิจัยโชว์ลิ้นหัวใจที่ผลิตจากคอลลาเจนด้วยเครื่องพิมพ์ชีวภาพสามมิติ (HO / Carnegie Mellon University College of Engineering / AFP)



ข่าววันที่: 3 ส.ค. 2562



            นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ ผลิตชิ้นส่วนหัวใจที่สำคัญอย่าง “ลิ้นหัวใจ” จากคอลลาเจน คาดหวังในอนาคตจะผลิตหัวใจได้ทั้งดวง และยังมีความละเอียดสูงสุดในระดับที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้ใช้ MRI สแกนหัวใจเพื่อผลิตซ้ำชิ้นส่วนจำเพาะของผู้ป่วย จนได้ลิ้นที่เต้นเป็นจังหวะและมีการเปิด-ปิดได้เหมือนลิ้นหัวใจ เอเอฟพียังย้อนไปถึงงานวิจัยก่อนหน้านี้ของทีมวิจัยอิสราเอลเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเผยว่าสามารถปริ้นท์หัวใจสามมิติที่มีเนื้อเยื่อและเส้นเลือดของมนุษย์ แต่อวัยวะดังกล่าวไม่สามารถทำหน้าที่ปั้มเลือดได้ นักวิทยาศาสตร์พยายามเอาชนะอุปสรรคในการผลิตชิ้นส่วนหัวใจ โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงค่า pH อย่างฉับพลัน ซึ่งเป็นเหตุให้คอลลาเจนนั้นกลายเป็นของแข็งตามการควบคุมได้อย่างแม่นยำ


ที่มา:https://mgronline.com/science/detail/9620000073678


ข่าวที่ 9


เปิดห้องแล็บเพาะ “ยุงติดเชื้อ” มาลาเรียไวแว็กซ์ ต่อยอดวัคซีนต้าน


เปิดห้องแล็บเพาะ “ยุงติดเชื้อ” มาลาเรียไวแว็กซ์ ต่อยอดวัคซีนต้าน

ข่าววันที่29 สิงหาคม 2562

            นางเจตสุมน สัตตบงกช หัวหน้าโครงการวิจัยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างยุงต้านเชื้อ “มาลาเรีย”  เพื่อทดสอบวัคซีนป้องกันเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ไวแว็กซ์ กลายพันธุ์ดื้อยา ภายใต้โครงการ Malaria Infection Study in Thailand : MIST หลังสถานการณ์มาลาเรียทั่วโลกยังวิกฤต โดยมีคนเป็นไข้มาลาเรียมากกว่า 200 ล้านคน ในจำนวนนี้มีเกือบ 400,000 คน ที่ตายด้วยไข้มาลาเรีย


ข่าวที่ 10

สารสกัดจากถ่านหินสีน้ำตาลสามารถต้านไวรัส



ข่าววันที่: 30/8/2562


      เผยการค้นพบวิธีการใหม่ที่ใช้ประโยชน์จากแมส สเปกโตรเมทรี (Mass spectrometry) หรือเทคนิควิเคราะห์ผลการวัดสัดส่วนมวลต่อประจุและใช้คอมพิวเตอร์ ร่วมกับเทคนิคการให้ข้อมูลที่นำไปใช้แก้ปัญหาในวิชาเคมี หรือที่ (chemoinformatics) ที่ระบุองค์ประกอบโมเลกุลที่ทำงานทางชีวภาพของสารประกอบชนิดหนึ่งที่ได้จากถ่านหิน
      สารสกัดดังกล่าวคือสารฮิวมิก (Humic substances) ซึ่งเป็นสารผสมที่มีส่วนประกอบตามธรรมชาติที่มีประโยชน์หลายอย่างสำหรับพืช โดยจะพบในดิน ถ่านหินเลน และถ่านหิน ทีมนักวิทยาศาสตร์เผยว่าจากการศึกษาองค์ประกอบของตัวอย่างสารฮิวมิก และเปรียบเทียบผลลัพธ์กับฐานข้อมูลที่กว้างขวางของสารประกอบทางเคมีอื่นๆ เพื่อระบุคุณสมบัติโครงสร้างของสารประกอบที่สกัดได้ ผลวิจัยพบว่าสารฮิวมิกที่ได้จากถ่านหินนั้น มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส อย่าง ไวรัสไข้สมองอักเสบจากเห็บเป็นพาหะได้

ข่าวที่ 1

ค้นพบฉลามสายพันธุ์ใหม่ ตัวจิ๋วเรืองแสงได้! นักวิทยาศาสตร์เชื่อมีไว้ล่อเหยื่อในที่มืด ข่าววันที่ :  22 ก.ค. 62       ...