บทที่ 1 ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี


 ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี



1.1 ความปลอดภัยในการทํางานกับสารเคมี  

1.1.1 ประเภทของสารเคมี
           ฉลากของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีข้อมูล ดังนี้
1. ชื่อผลิตภัณฑ์
2. รูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี 
3. คําเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง
 4. ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฉลากสารเคมี

บนฉลากบรรจุภัณฑ์จะมีสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตรายในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ระบบ คือ GHS, NFPA


                     ในระบบ GHS จะแสดงสัญลักษณ์ในสี่เหลี่ยมกรอบสีแดง พื้นสีขาว ลักษณะดังรูป

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฉลากสารเคมี



        ระบบ NFPA จะใช้สีแทนความเป็นอันตรายใน ด้านต่าง ๆ ได้แก่ สีแดงแทนความไวไฟ สีน้ําเงินแทนความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สีเหลืองแทนความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยใส่ตัวเลข 0 ถึง 4 เพื่อระบุระดับความเป็นอันตรายจากน้อยไปหามาก และช่องสีขาวใช้ใส่อักษรหรือสัญลักษณ์ที่แสดงสมบัติที่เป็นอันตรายด้านอื่น ๆ


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

1.1.2 ข้อควรปฏิบัติในการทําปฏิบัติการเคมี

ก่อนทําปฏิบัติการ
1) ศึกษาขั้นตอนหรือวิธีการทําปฏิบัติการให้เข้าใจ 
2) ศึกษาข้อมูลของสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง เทคนิคการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์
3) แต่งกายให้้เหมาะสม

ขณะทําปฏิบัติการ 
1) ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป  
          1.1 สวมแว่นตานิรภัย สวมเสื้อคลุมปฏิบัติการที่ติดกระดุมทุกเม็ด ควรสวมถุงมือ สวมผ้าปิดปาก
          1.2 ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม 
          1.3 ไม่ทําการทดลองในห้องปฏิบัติการตามลําพังเพียงคนเดียว 
          1.4 ไม่เล่นและไม่รบกวนผู้อื่นในขณะที่ทําปฏิบัติการ 
          1.5 ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างเคร่งครัด  
          1.6 ไม่ปล่อยให้อุปกรณ์ให้ความร้อน ทํางานโดยไม่มีคนดูแล 
2) ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี 
          2.1 อ่านชื่อสารเคมีบนฉลากให้แน่ใจก่อนนําสารเคมีไปใช้
          2.2 การเคลื่อนย้าย การแบ่ง และการถ่ายเทสารเคมีต้องทําด้วยความระมัดระวัง 
          2.3 การทําปฏิกิริยาของสารในหลอดทดลอง ต้องหันปากหลอดทดลองออกจากตัวเอง และผู้อื่น              2.4 ห้ามชิมหรือสูดดมสารเคมีโดยตรง 
          2.5 การเจือจางกรด ห้ามเทน้ําลงกรดแต่ให้เทกรดลงน้ํา 
          2.6 ไม่เทสารเคมีที่เหลือจากการเทหรือตักออกจากขวดสารเคมีแล้วกลับเข้าขวดอย่าง เด็ดขาด
          2.7 เมื่อสารเคมีหกในปริมาณเล็กน้อยให้กวาดหรือเช็ด แล้วทิ้งลงในภาชนะสําหรับทิ้ง 

หลังทําปฏิบัติการ 
1) ทําความสะอาดอุปกรณ์
2) ก่อนออกจากห้องปฏิบัติการให้ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตราย 

การกําจัดสารเคมีแต่ละประเภท  
1) สารเคมีที่เป็นของเหลวไม่อันตรายที่ละลายน้ําได้และมี pH เป็นกลาง ปริมาณไม่เกิน 1 ลิตร สามารถเทลงอ่างน้ําและเปิดน้ําตามมาก ๆ 
2) สารละลายเข้มข้นบางชนิด เช่น กรดไฮโดรคลอริก ไม่ควรทิ้งลงอ่างน้ํา ควรเจือจาง
3) สารเคมีที่เป็นของแข็งไม่อันตราย ปริมาณไม่เกิน 1 กิโลกรัม สามารถใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด พร้อมทั้งติดฉลากชื่อให้ชัดเจน ก่อนทิ้งในที่ซึ่งจัดเตรียมไว้  
4) สารไวไฟ ตัวทําละลายที่ไม่ละลายน้ํา สารประกอบของโลหะเป็นพิษ หรือสารที่ทําปฏิกิริยา กับน้ํา ห้ามทิ้งลงอ่างน้ํา ให้ทิ้งไว้ในภาชนะที่ทางห้องปฏิบัติการจัดเตรียมไว้ให้

1.2 อุบัติเหตุจากสารเคมี 

 การปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากอุบัติเหตุจากการใช้สารเคมี 
มีขีอปฏิบัติดังนี้ 

การปฐมพยาบาลเมื่อร่างกายสัมผัสสารเคมี 
1. ถอดเสื้อผ้าบริเวณที่เปื้อนสารเคมีออก 
2. กรณีเป็นสารเคมีที่ละลายน้ําได้ ให้ล้างบริเวณที่สัมผัสสารเคมี 
3. กรณีเป็นสารเคมีที่ไม่ละลายน้ํา ให้ล้างบริเวณที่สัมผัสสารเคมีด้วยน้ําสบู่  
4. หากทราบว่าสารเคมีที่สัมผัสร่างกายคือสารใด ให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดในเอกสารความปลอดภัยของสารเคมี  

การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา 
 ตะแคงศีรษะโดยให้ตาด้านที่สัมผัสสารเคมีอยู่ด้านล่าง ล้างตาโดยการเปิดน้ําเบา ๆ ไหลผ่าน ดั้งจมูก
อย่างน้อย 10 นาที

การปฐมพยาบาลเมื่อสูดดมแก๊สพิษ  
1. เมื่อมีแก๊สพิษเกิดขึ้น ต้องรีบออกจากบริเวณนั้นและไปบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกทันที 
2. หากมีผู้ที่สูดดมแก๊สพิษจนหมดสติหรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต้องรีบเคลื่อนย้ายออก
3. ปลดเสื้อผ้าเพื่อให้ผู้ประสบอุบัติเหตุหายใจได้สะดวกขึ้น  
4. สังเกตการเต้นของหัวใจและการหายใจ หากว่าหัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจให้นวดหัวใจ 

1.3 การวัดปริมาณสาร 

             ในปฏิบัติการเคมีจําเป็นต้องมีการชั่ง ตวง และวัดปริมาณสาร ซึ่งการชั่ง ตวง วัด มีความคลาดเคลื่อน ที่จะส่งผลให้ผลการทดลองที่ได้มีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่า ค่าจริง ความน่าเชื่อถือของข้อมูล สามารถพิจารณาได้จาก 2 ส่วนด้วยกัน คือ ความเที่ยง (precision) และ ความแม่น (accuracy) ของข้อมูล โดยความเที่ยง คือ ความใกล้เคียงกันของ ค่าที่ได้จากการวัดซ้ํา ส่วนความแม่น คือ ความใกล้เคียงของค่าเฉลี่ยจากการวัดซ้ําเทียบกับค่าจริง

1.3.1 อุปกรณ์วัดปริมาตร
- บีกเกอร์ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกปากว่ามีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร



- ขวดรูปกรวย มีลักษณะคล้ายขนชมพู่มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร มีหลายขนาด


- กระบอกตวง มีลักษณะเป็นทรงกระบอกมีขีดบอกปริมาตรในระดับ มิลลิลิตร มีหลายขนาด


นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ที่สามารถวัดปริมาตรของของเหลวได้มากกว่าอุปกรณ์ ข้างต้น เช่น


- ปิเปตต์ เป็นอุปกรณ์วัดปริมาตรที่มีความแม่นยำสูง ใช้สำหรับถ่ายเทของเหลว


- บิวเรตต์ เป็นอุปกรณ์สำหรับถ่ายเทของเหลวในปริมาตรต่างๆตามต้องการ มีก๊อกปิดเปิด

1.3.2 อุปกรณ์วัดมวล
เครื่องชั่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดมวลทั้งที่เป็นของแข็งและของเหลวความน่าเชื่อถือของค่าวัดมวลที่ได้ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเครื่องชั่งและวิธีการใช้เครื่องชั่ง เครื่องชั่งมี 2 แบบแบบเครื่องชั่งสามคานและเครื่องชั่งไฟฟ้า

1.3.3 เลขนัยสำคัญ

หลักการพิจารณาจำนวนเลขนัยสำคัญ
เลขทุกตัว ถือเป็นเลขที่มีนัยสำคัญ ยกเว้น
1. เลข 0 ที่อยู่ซ้ายมือสุดหน้าตัวเลข
2. เลข 0 ที่อยู่ระหว่างตัวเลขถือเป็นเลขนัยสำคัญ
3. เลข 0 ที่อยู่ท้ายแต่อยู่ในรูปเลขทศนิยม ถือว่าเป็นเลขนัยสำคัญ
4. เลข 0 ที่ต่อท้ายเลขจำนวนเต็ม ถ้าจะนับเป็นเลขนัยต้องทำ
5. เลข 10 ที่อยู่ในรูปยกกำลัง ไม่เป็นเลขนัยสำคัญ

การปัดตัวเลข

1.กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าน้อยกว่า 5 ให้ตัดตัวเลขที่อยู่ถัดไปทั้งหมด
2.กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่ามากกว่า 5 ให้เพิ่มค่าของตัวเลขตำแหน่งสุดท้ายที่ต้องการ
3.กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ 5 และมีตัวเลขอื่นที่ไม่ใช่ศูนย์ต่อจากเลข
5 ให้เพิ่มค่าของตัวเลขตำแหน่งสุดท้ายอีก 1 4.กรณีที่ตัวเลขถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ 5 และไม่มีตัวเลขอื่นต่อจากเลข 5 ต้องพิจารณาตัวเลขที่อยู่ หน้าเลข 5 ดังนี้
4.1 ภาคตัวเลขที่อยู่หน้าเลข 5 เป็นเลขคี่ ให้ตัวเลขดังกล่าวบวกค่าเพิ่มค่า 1 แล้วแต่ตัวเลขตั้งแต่เลข 5 ไปทั้งหมด
4.2 หาตัวเลขที่อยู่หน้าเลข 5 เป็นเลขคู่ให้ตัวเลขดังกล่าวเป็นเลขตัวเดิมตัว แล้วแต่ตัวเลขตั้งแต่เลข 5 ไปทั้งหมด

การบวกและการลบเลขนัยสำคัญ

ให้บวกลบข้อมูลตามปกติ แล้วเมื่อได้ผลลัพธ์ให้บันทึกโดยมีจำนวนตำแหน่งทศนิยมเท่ากับตำแหน่งทศนิยมของข้อมูลหลักที่มีจำนวนตำแหน่งทศนิยมน้อยที่สุด เช่น

การคูณและการหารเลขนัย

ให้คูณ-หารข้อมูลตามปกติ แล้วเมื่อได้ผลลัพธ์ให้บันทึก โดยมีจำนวนค่านัยสำคัญเท่าจำนวนค่านัยสำคัญของข้อมูลหลักที่มีจำนวนค่านัยสำคัญน้อยที่สุด 


1.4 หน่วยวัด

1.4.1 หน่วยในระบบ SI



1.4.2 แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย





วิธีการเทียบหน่วย

ปริมาณและหน่วยที่ต้องการ = ปริมาณและหน่วยเริ่มต้น x หน่วยที่ต้องการ / หน่วยเริ่มต้น


1.5 วิธีการทางวิทยาศาสตร์

1.การสังเกต
2.การตั้งสมมติฐาน
3.การตรวจสอบสมมติฐาน
4.การรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ผล 5.การสรุปผล



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่ 1

ค้นพบฉลามสายพันธุ์ใหม่ ตัวจิ๋วเรืองแสงได้! นักวิทยาศาสตร์เชื่อมีไว้ล่อเหยื่อในที่มืด ข่าววันที่ :  22 ก.ค. 62       ...